Up

เอกสารเผยแพร่

2566 01 24       

 

          ปัญญาประดิษฐ์ในอวกาศกับการวิเคราะห์ภัยคุกคามใกล้เคียงเวลาจริง โดย จัสติน เอ็ม. เจตตัน

 

          ค.ศ.๒๐๑๙ เศรษฐกิจด้านอวกาศทั่วโลกมีมูลค่ามากกว่า ๔๒๓ ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้น ภายใต้เศรษฐกิจด้านอวกาศ มีการจ้างงานและการใช้ระบบดาวเทียมมูลค่าสูงถึง ๒๗๑ ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ ๖๕ ของเศรษฐกิจด้านอวกาศทั้งหมด การเติบโตทางเศรษฐกิจนี้ทำให้ทั้งรัฐบาลและองค์กรการค้าเปลี่ยนการลงทุนไปสู่อวกาศมากขึ้น ด้วยต้นทุนการเข้าสู่อวกาศที่ลดลงทำให้จำนวนดาวเทียมปฏิบัติการเพิ่มขึ้นสองเท่าในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อมีระบบดาวเทียมมากขึ้น การพึ่งพาระบบเหล่านี้ทั่วโลกก็จะเพิ่มมากขึ้นอันเนื่องมาจากการที่องค์กรการค้าและรัฐบาลเปลี่ยนการให้บริการไปสู่อวกาศ บริการต่าง ๆ เหล่านี้รวมไปถึง โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ความมั่นคงของชาติ เศรษฐกิจ และระบบสนับสนุนทางสังคม เมื่อเข้าไปสู่อวกาศ มันทำให้เกิดช่องโหว่ (หากถูกโจมตี) ที่อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสุขภาวะทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ บทความนี้จะกล่าวถึงภัยคุกคามจากอวกาศที่อาจเกิดขึ้นได้ หากรัฐชาติมีความสามารถระดับสูงในการวิจัยและพัฒนาด้านระบบตอบโต้ทางอวกาศ และรวมถึงสิ่งที่แบบจำลองการประเมินจะสามารถช่วยในการป้องกันอวกาศได้

2565 10 25

 

          กองกำลังรบร่วมของสหรัฐอเมริกากับโดเมนในการทำสงคราม

       James Jay Carafano, PhD

 

          เอกสารฉบับนี้ สะท้อนให้เห็นถึงพลวัตสำคัญที่ส่งผลต่อการคิดว่าควรใช้กำลังทหารอย่างไร อิทธิพลในสงครามไม่ได้มาจากการมีอิทธิพลอยู่เหนือโดเมนเดียว เป้าหมายของการรบร่วมในอนาคตอยู่ที่การสร้างความมั่นใจว่ากองทัพสหรัฐฯ ยังคงรักษาความสามารถในการปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกโดเมนภายในยุทธบริเวณ (ทางบก ทางทะเล ทางอากาศ ใต้ทะเล ห้วงไซเบอร์ และอวกาศ) และเพื่อหาประโยชน์จากความสามารถในการใช้ความได้เปรียบในโดเมนหนึ่งสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อปฏิบัติการในโดเมนอื่น สำหรับสหรัฐอเมริกา การมีความสามารถในการตรวจสอบฝ่ายตรงข้ามหรือริเริ่มได้ในทุกโดเมนจะเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความได้เปรียบต่อความขัดแย้งในอนาคต

ddasd 

 

          แนวความคิดปฏิบัติการหลายโดเมน  ตอนที่ ๓ แนวทางสู่การปฏิบัติ

        โดย Jonathan Bott

 

          ปฏิบัติการหลายโดเมนต้องรวมหลายหน่วยงานและเพิ่มการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมให้กว้างขึ้น การเชื่อมโยงกิจการของรัฐบาลและหน่วยงานทั้งปวงเป็นรากฐานที่จำเป็นสำหรับปฏิบัติการหลายโดเมน การบูรณาการผ่านโดเมนจะเพิ่มความสำคัญของการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ทหารกับยุทธศาสตร์ทางการเมืองและหน่วยงาน แม้ว่าปฏิบัติการหลายโดเมนจะเพิ่มความเข้าใจในการดำเนินกลยุทธ์ในโดเมนอื่น ๆ แต่ความซับซ้อนของสงครามสมัยใหม่หมายความว่า ความเข้าใจและการมีปฏิสัมพันธ์จะต้องยืดออกไปนอกห้วงพื้นที่การรบด้วย

00236

 

 

          แนวความคิดปฏิบัติการหลายโดเมน ตอนที่ ๒ วิวัฒนาการของแนวความคิด

        โดย Jonathan Bott

 

 

          ปฏิบัติการร่วมเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการทำสงครามภายใต้สภาวะแวดล้อมที่ซับซ้อนในอนาคต ก้าวต่อไปคือการควบคุมปฏิบัติการร่วมเพื่อผลิตวิธีแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการผ่านหลายโดเมน เหล่าทัพต้องใช้ประโยชน์จากประสบการณ์และความสามารถขององค์กรอื่นเพื่อสร้างตัวเลือกใหม่ให้มากขึ้น แนวคิดปฏิบัติการหลายโดเมนจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางปัญญาที่มุ่งขยายการรับรู้ของผู้มีอำนาจตัดสินใจเพื่อให้มองทั้งปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ ในทางอุดมคติ นี่เป็นการปรับรูปแบบของการตอบโต้ให้กลายเป็นการเน้นที่ตัวปัญหามากกว่ายึดติดอยู่กับเหล่าทัพ

2565 07 26

 

          แนวความคิดปฏิบัติการหลายโดเมน   ตอนที่ ๑ กรอบแนวคิด

        โดย Jonathan Bott

     

          บทบาทและปฏิสัมพันธ์ของกองกำลังเฉพาะโดเมนได้รับการพัฒนาเมื่อเวลาผ่านไป ในอดีตแต่ละเหล่าทัพจะมุ่งเน้นที่การเอาชนะศัตรูที่ปฏิบัติการในโดเมนของตนเอง ต่อมามีการบูรณาการระหว่างเหล่าทัพมากขึ้น โดยหลักนิยมกองทัพอากาศสหรัฐปัจจุบันระบุว่า “กองทัพอากาศใช้กำลังทางอากาศเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของผู้บัญชาการกองกำลังร่วมและเพื่อสนับสนุนกำลังอื่น ๆ ของกองกำลังร่วม” สิ่งสำคัญจึงได้กลายเป็นการค้นหาวิธีการปฏิบัติจากโดเมนหนึ่งเพื่อให้ส่งผลกระทบใน/ผ่านอีกโดเมนหนึ่ง ปฏิบัติการหลายโดเมนเช่นนี้ทำให้กรอบแนวคิดกว้างขึ้น ผู้นำและผู้วางแผนต้องให้ความสนใจมากขึ้นในการปฏิบัติบน/ผ่านโดเมนอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งเสรีในการปฏิบัติที่ระบุแทนที่จะครอบครองโดเมนของตนเองเพียงอย่างเดียว

2565 06 27     

                  การทำความเข้าใจเรื่องการปฏิบัติการหลายโดเมนของกองกำลัง NATO Understanding
               Multi-Domain Operations in NATO

                     โดย LT COL JOSE DIAZ DE LEON

                     แปลโดย น.อ.ยุทธศักดิ์ พูลสุวรรณ

 

                         บทความนี้จะทบทวนที่มา และขยายมุมมองแนวคิดการปฏิบัติการหลายโดเมนของกองกำลังองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization : NATO) ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานของความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ในการปรับปรุงขีดความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการพูดภาษาการปฏิบัติการเดียวกัน นี่คือสิ่งที่ศูนย์การสงครามร่วม (Joint Warfare Centre : JWC) นำไปใช้ในการฝึกของพวกเขา 

2565 05 24         

         หลอมรวมผลกระทบร่วมทุกโดเมน: การพัฒนาทีมบัญชาการและควบคุม

                    โดย Ernest Nisperos

 

          เนื้อหาในเอกสารนี้จะชี้ให้เห็นโครงสร้างเพื่อเสริมเทคโนโลยีขั้นสูงที่พัฒนาสำหรับการบัญชาการและควบคุมร่วมทุกโดเมน (Joint All Domain Command and Control: JADC2) โดยเน้นที่สามประเด็นหลัก คือ ๑) การสนับสนุนแนวคิดทีมแบบใหม่ที่เรียกว่า Joint Effects Convergence Team (JECT) ที่เสริมเทคโนโลยีในอนาคตของ JADC2 ให้ทันกับระบบอาวุธ เช่น ระบบจัดการการรบขั้นสูง (Advanced Battle Management System: ABMS) ๒) ให้กรอบการพัฒนาโครงสร้างการบัญชาการและควบคุม (C2) ให้เป็นระบบที่หลอมรวมกันซึ่งเสริมการใช้กำลังรบที่คล่องตัว (Agile Combat Employment: ACE) และ ๓) คำแนะนํากรอบที่เป็นไปได้ต่อกองทัพอากาศสหรัฐฯ ว่าจะบริหารจัดการผู้เชี่ยวชาญด้าน JADC2 ในอนาคตได้อย่างไร

2565 04 26       

           จงเป็นเช่นสายน้ำ: สงครามโมเสค
             โดย Har Gootzen


   

          แนวทางการเอาชนะปัญหาสงครามอสมมาตรและสามารถประยุกต์ใช้ในยุคโลกหลายขั้ว รวมทั้งการแพร่กระจายของเทคโนโลยี ทำให้ฝ่ายตรงข้ามเข้าถึงยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น จำต้องใช้แนวคิดการทำสงครามรูปแบบใหม่อันแตกต่างไปจากปฏิบัติการร่วมหรือปฏิบัติการหลายโดเมน

 

          “Mosaic Warfare” เป็นการทำสงครามที่มีการตัดสินใจเป็นศูนย์กลาง (Decision Centric Warfare) ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อปรับปรุงการตัดสินใจภายใน และในเวลาเดียวกันก็ลดทอนการตัดสินใจของฝ่ายตรงข้าม หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เพื่อโจมตีขั้นตอน “Orient” ใน OODA-loop ของศัตรู นั่นเอง

01120

  

            ทหารเรือมุ่งสู่ปฏิบัติการหลายโดเมน

          โดย Will Spears

 

          “ ปฏิบัติการหลายโดเมน (Multi-Domain Operations) ” แสดงให้เห็นถึงความใฝ่ฝันของนักอนาคตศึกษาเพื่อปรับปรุงการบูรณาการกำลังทหารข้ามโดเมนทางยุทธการ ซึ่งก็คือ พื้นดิน ทะเล อากาศ อวกาศ และไซเบอร์ ผ่านการผสมผสานกันของการปฏิรูปองค์กรและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ปรากฏขึ้น  

           ปฏิบัติการหลายโดเมนควรถูกมองว่าเป็นชุดของการอธิบายปัญหา ที่มุมมองในเรื่อง ๑) ประเด็นปัญหาเรื่องการบูรณาการ ๒) ประเด็นปัญหาเรื่องความเร็ว และ ๓) ประเด็นปัญหาเรื่ององค์กร

2565 02 22   

 

           ปฏิบัติการหลายโดเมน : สะพานเชื่อมช่องว่างเพื่อความเหนือชั้นกว่า 

         MDO - Bridging the GAPs for Dominance

                                             ผู้เขียน : Maj Kimber Nettis, USAF

                                             ผู้แปล : น.อ.ยุทธศักดิ์ พูลสุวรรณ สยล.ทอ.

          บทความนี้จะบอกให้ทราบว่า สงครามมีวิวัฒนาการอย่างไร? และเหตุใดเราจึงมุ่งสู่่หลักนิยมของการปฏิบัติการหลายโดเมน นอกจากนั้นบทความนี้ยังให้กรอบการทำความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานที่สามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติการหลายโดเมนของสงครามเชิงรุก และเชิงรับทั้งในระดับยุทธวิธีและระดับยุทธการ

5866466     

          โดเมนทางอากาศกับความท้าทายของการทำสงครามทางอากาศสมัยใหม่ โดย แฮร์รี่ ฟอสเตอร์

           สำนักงานยุทธศาสตร์และหลักนิยม ทอ. (เพื่อพลาง) มีพันธกิจหนึ่งคือการรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ ประเมิน และเผยแพร่ข้อมูลเทคโนโลยี เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนากองทัพอากาศ เนื้อหาบทความตอนนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับโดเมนทางอากาศ ที่ทหารอากาศทุกคนควรมีพื้นฐานความรู้ซึ่งอาจจะเป็นเชิงวิชาการ แต่ผู้แปลพยายามใช้คำพูดให้อ่านง่าย โดยมีเนื้อหาหลัก ๆ คือ คุณลักษณะของโดเมนทางอากาศ การใช้ประโยชน์จากโดเมนทางอากาศ และการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่มีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อโดเมนทางอากาศ

65 01           

           

          การสื่อสารในปฏิบัติการหลายโดเมน: เราได้อะไรจาก BACN?  โดย Jahara Matisek, Ph.D.

            การสื่อสารถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของปฏิบัติการทางทหารใด ๆ การขาดโครงสร้างพื้นฐานและภูมิประเทศสูงต่ำล้วนเป็นตัวขัดขวางปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ ในอัฟกานิสถาน (ค.ศ.๒๐๐๑-ปัจจุบัน) และอิรัก (ค.ศ.๒๐๐๓-ปัจจุบัน) ปัญหาที่พบในทั้งสองประเทศนั้นได้นำไปสู่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่แตกต่างกันหลายวิธีเพื่อเอาชนะอุปสรรคของการสื่อสาร ในที่สุดการแก้ปัญหาระยะยาวก็เกิดขึ้นจากสิ่งที่เรียกว่า “โหนดการสื่อสารทางอากาศในพื้นที่การรบ” (Battlefield Airborne Communications Node: BACN)

                                                                                                             

                                                                                                                     

                                                                                                           

                                                                          

000236     

          การป้องกันประเทศและโดเมนไซเบอร์ โดย อเล็กซานเดอร์ โครวเธอร์

           โดเมนทางไซเบอร์นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตของประชากรทุกผู้คนในปัจจุบัน ซึ่งนอกจากจะถูกใช้งานเพื่อการปฏิบัติงานประจำวันของพลเรือนแล้ว ไซเบอร์ในทางทหารนับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อปฏิบัติการทางทหารทุกด้าน ดังนั้นการพัฒนาขีดความ สามารถจึงต้องมีการพัฒนาด้านไซเบอร์ร่วมอยู่ด้วย บทความนี้ถึงแม้เป็นเนื้อหาที่เขียนในปี ค.ศ.๒๐๑๘ แต่แนวความคิดนั้นยังไม่ล้าสมัย สามารถใช้อ้างอิงเป็นแนวทางการพัฒนาได้

2566 05 19               โครงสร้างขั้วอำนาจโลกในอนาคต ๒๐ ปี

 

 

              การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขั้วอำนาจโลกในอนาคต 20 ปี เป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดทิศทางโลกและระเบียบระหว่างประเทศ ซึ่งมีผลต่อประเทศต่าง ๆ รวมถึงไทยที่ต้องปรับตัวเข้ากับบริบทโลก หลังจากโครงสร้างขั้วอำนาจโลกในปัจจุบันกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนผ่านจากการแข่งขันทางยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ซึ่งเป็นมหาอำนาจอันดับ 1 และ 2 ของโลกตามลำดับ ขณะที่ประเทศที่มีบทบาทสูงทั้งรัสเซีย ประเทศในสหภาพยุโรป (European Union-EU) สหราชอาณาจักร อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย เร่งสะสมกำลังอำนาจและส่งเสริมสถานะของตนให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งอาจไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขั้วอำนาจโลกในที่สุด

 
 
Powered by Phoca Download